ไดโนเสาร์ เป็นสัตว์โลกดึกดำบรรพ์ที่สูญพันธุ์มาแล้ว 65 ล้านปี จึงมีผู้นิยมเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “สัตว์โลกล้านปี” ในปี พ.ศ. 2519 คณะสำรวจแร่ยูเรเนียมของกรมทรัพยากรธรณี ได้ขุดพบซากกระดูก (Fossil) ขนาดกว้างและยาวประมา ณ 1 ฟุต ที่บริเวณลำห้วยภูประตูตีหมา ต. ในเมือง อ. ภูเวียง จ. ขอนแก่น คณะสำรวจแร่ยูเรเนียมของกรมทรัพยากรธรณี จึงได้กับโบราณชีววิทยาชาวฝรั่งเศสทำการศึกษาวิจัยซากกระดูกดังกล่าว พบว่าเป็นกระดูกของไดโนเสาร์พันธุ์ซอโรพอด (Soropods) ชนิดกินพืชเป็นอาหาร คล้ายกับพบที่ประเทศสหรัฐอเมริกา จึงนับว่าเป็นการค้นพบซากไดโนเสาร์ครั้งแรกใน ประเทศไทย ต่อมาเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2532 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตร และคณะผู้วิจัยได้ทูลเกล้าฯ ขอพระราชทานนามว่า “ภูเวียงโกซอรัสสิริธรเน่ (Phuwiangosaurus Sirindhornae)” และในปี พ.ศ. 2533 สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ได้เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรด้วยเช่นกัน
ต่อมาในระหว่างปี พ.ศ. 2532-2536 คณะสำรวจแร่ยูเรเนียมของกรมทรัพยากรธรณีและนักโบราณชีววิทยาชาวฝรั่ งเศสได้ขุดพบซากกระดูกไดโนเสาร์เพิ่มอีกเป็นกระดูกซี่โครง สันหลัง สะบัก สะโพก เชิงกรานและกระดูกหาง จำนวน 23 ชิ้น ผลการศึกษาวิจัยเสร็จสิ้นเมื่อต้นปี 2539 พบว่าเป็นซากไดโนเสาร์ต้นตระกูลพันธุ์ไทรัน โนซอรัส เรกซ์ (Tyrunnosaurus Rex) ที่ดุร้าย มีขนาดใหญ่ ชนิดกินเนื้อเป็นอาหาร มีลักษณะขาหน้าสั้น ขาหลังยาว มีอายุเก่าแก่กว่าไดโ นเสาร์พันธุ์ซอโรพอด ถึง 20 ล้านปี ต่อมาเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2539 นายเอริค ปุฟเฟร์โตต์ นักโบราณชีววิทยา ชาวฝรั่งเศ สซึ่งเป็นผู้ร่วมคณะสำรวจศึกษาวิจัยได้เขียนบทความลงวารสาร Nature และสำนักข่าวรอยเตอร์ สำนักข่าวเอ พี และสำนั กข่าวเอ เอฟ พี ได้กระจายข่าวไปทั่วโลกว่า ผลการศึกษาวิจัยซากไดโนเสาร์พันธุ์ไทรัน โนซอรัส เรกซ์ ที่อำเภอภูเวียง จั งหวัดขอนแก่น เป็นไดโนเสาร์พันธุ์กินเนื้อที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดในโลก คือประมาณ 120-130 ล้านปี คณะผู้วิจัยจึงตั้งชื่อเพื่ อเป็นเกียรติแก่ประเทศไทยและสถานที่ขุดพบว่า “ไซแอมโม ไทรันนัส อีสานเอนซิส (Siamotyrunnus isanesis)”
Filed under: ย้อนอดีตน่ารู้ |
อยากเห็นไดไนเสาร์
ไปดูด้วยกันไหม…แมน โน๊ต
ไดไนเสาร์สิรินธรเน่
ไดโนเสาร์อยู่ที่จ. อะไร